สัดส่วนและโครงสร้างมาตรฐาน แบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ภาษาอังกฤษ-ไทย ของ CRU-Font Family ชื่อแบบตัวพิมพ์(Font) ซีอาร์ยู-ลานจันทร์ CRU-LanChand โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
ก่อนการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ หรือมีวัตถุประสงค์ปลายทางคือสร้างเป็นไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์(Program Computer Font) ที่สามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ผลงานประเภทวรรณกรรมได้นั้น ขั้นตอนก่อนเริ่มทำงาน นักออกแบบเองควรต้องมีการศึกษาและการนำเสนอ-สื่อแสดงกระบวนวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีของตนเองเอาไว้รองรับ อันเป็นการประกาศสิทธิ์ แสดงหลักฐานเอาไว้เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเอาไว้ ดังเช่นในที่นี้เป็นผลงานที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ศึกษา ทดสอบ สอบถามตามกระบวนการทำงานวิจัยแบบสร้่างสรรค์ จนได้ผลงานออกมาจาก และเป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีงบประมาณ 2552 และเผยแพร่อ้างอิงไว้ที่นี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่และลูกศิษย์ลูกหาได้ใช้เป็นแนวทาง ก่อนที่จะออกแบบ ร่างแบบ ว่าควรต้องศึกษาเริ่มต้นไปพร้อมกันการศึกษาเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์เพื่อการเขียนแบบตั้งต้นอย่างไร โครงสร้างสัดส่วนทั้ง 5 แบบที่นำเสนอนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง โดยการศึกษา อ้างอิงจากโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทยและตัวพิมพ์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540 แบบตัวอักษรลาติน แบบ Serif มากำหนดขึ้นเป็นโครงสร้างและสัดส่วนของตัวพิมพ์ชุด CRU-LanChand ดังมีรูปแบบ ขนาด สัดส่วน ตามตารางกริดที่แสดงนี้
เว็บบล็อกบันทึกและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ : Lettering,Font & Typefaces Design KM Site
วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่1 ปฐมนิเทศวิชาและข้อตกลงในการเรียน

เงื่อนไขและข้อตกลงก่อนการเรียน
1.ใช้ gmail โดยลงทะเบียนด้วยชื่อจริง เพื่อเป็นระบบสื่อสารเดียวกัน เพื่อการประเมินผลกิจกรรมร่วมฝึกอื่นๆให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดส่วน ตัว(Account Setting) โดยตั้งค่าใช้โหมดภาษาอังกฤษ
2.ติดต่อผู้สอนด้วยอีเมล prachid2009@gmail.com
3.ให้เปิดใช้งานผลิตภัณฑ์บริการของกูเกิ้ลคือ
- ติดตาม(Follow) เว็บบล็อกของวิชานี้ ติดตามอีเมลอ prachid2009@gmail.com และ add friend ใน Google plus
- Google Profile ใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยเป็นจริง
- GoogleDocs ฝึกใช้งาน Documents และการ Share
- สร้าง Blog ของ Blogger โดยใช้ชื่อจริงนำหน้าแล้วตามด้วย-รหัสวิชา เช่น prachid-arti2305 เพื่อสรุปผลการเรียนรู้ในวิชานี้เป็นส่วนบุคคล
- ติดตามบล็อกบันทึกการสอนของอาจารย์ที่ http://typefacesdesign.blogspot.com
4.ให้สมัครเป็นสมาชิกและสมัครเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่ http://chandraonline.chandra.ac.th/dokeos สมัครเป็นสมาชิกก่อน(ครั้งแรก)ใช้ภาษาอังกฤษ ใส่ข้อมูลและรูปถ่ายให้เรียบร้อย
- สมัครเรียนเฉพาะในวิชาที่เปิดสอน-สมัครเรียน
- เมื่อเข้าวิชาแล้วให้เลือกสมัครเข้ากลุ่มเรียนของตนเอง(ตามกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน)
5.สมัครสมาชิกกลุ่มแสดงงานออกแบบตัวอักษรที่ http://issuu.com/groups/typography
6.นำ บัตรเข้าชั้นเรียน ติดรูปถ่าย-สมุดจดที่แจกให้ วางโต๊ะผู้สอนก่อนเข้าชั้น มาสาย 2 ครั้ง (เกิน 30 นาที ถือว่ามาสาย) นับเป็นขาด 1 ครั้ง
7. เวลาเรียนตลอดภาคเรียนต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะมีสิทธิ์รับการประเมินผลปลายภาคเรียน สิทธิ์ขาดเรียนเพียง แค่ 3 ครั้ง (ไม่แจ้ง/ไม่มีใบลา/ไม่ติดต่อผู้สอน)
8.กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าแปล สรุปข่าวสารความรู้ด้านการออกแบบตัวอักษร: Weekly Report เรียงตามลำดับรายชื่อที่ลงทะเบียนเรียน ช่วง 30 นาที แรกของคาบเรียน ผู้ที่รายงานต้องส่งแชร์เอกสารที่ถูกแบบฟอร์มและนำเสนอด้วย Google Presentation + แชร์ให้เพื่อนๆ และให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนรายงานทุกครั้งอย่างน้อย 1 วัน โดยแจ้งไว้ในแบบฟอร์มการประเมินผลที่อาจารย์แชร์ให้ดำเนินการเอง
9.สมัครเป็นสมาชิก-รับข้อมูลข่าวสารและศึกษาเนื้อหาวิดิโอการสอนของอาจารย์ได้ที่ URL Prachid's Youtube.com http://www.youtube.com/prachid0071 และปรับแก้ไขข้อมูลช่องของตนเองให้เรียบร้อย
ภาระงานที่มอบหมายนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสองสัปดาห์ นับแต่ปฐมนิเทศวิชา
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
Typography หมายความว่าอย่างไรกันแน่?
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
30/9/2554
ความเข้าใจในคำศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางการพิมพ์นั้น มีผู้รู้กล่าวไว้มากมาย ดังที่จำนำมาอ้างอิง-แปลสรุปความหมายไว้ให้เข้าใจ เป็นความรู้พื้นฐานไว้ร่วมกันในที่นี้คือ.
ความหมายภาษาไทยของคำว่า Typography นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำไทย โดยราชบัณฑิตยสถาน ไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คำว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคำแปลไว้ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น
Kyrnin,Jenifer,2011 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่า หมายถึงการออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูปอักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุกรูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงา่นที่ออกแบบด้วยนั่นเอง
Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(Kyrnin,Jenifer,2011)

จากประเด็นความหมายที่กล่าวยกอ้างและแปลสรุปมาข้างต้นนี้ ผู้เขียนจึงใคร่สรุปเป็นประเด็นตั้งต้นเพื่อเป็นแนวทางเสนอไว้ เป็นศัพท์คำไทยและการนิยามความหมายไว้ดังนี้คือ
Typography ก็คือ ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์(Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระับบการพิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด
วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554
การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ Font & Typeface Design
การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ( Font & Typeface Design)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
ตัวอักษร ตัวหนังสือหรือตัวพิมพ์ คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของมนุษย์ ช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ไปยังผู้อื่นได้ไกลๆ และยังรักษาความคิดและความรู้ให้อยู่ได้นานถึงคนรุ่นหลัง ตัวอักษรเป็นสื่อความหมายความเข้าใจอย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์เมื่อมีภาษาพูดของตนเองแล้ว ก็มักจะคิดค้นตัวอักษรไว้ใช้เขียนเพื่อเผยแพร่ในกลุ่มชน ตัวอักษรในยุคก่อนๆมีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรไฮเออโรกลิฟิคของชาวอียิปต์โบราณและอักษรโฟนิเชียนซึ่งถือว่าเป็นต้นตอของการกำเนิดเป็นตัวอักษรในภาษาต่างๆ ของทุกชาติ ในเวลาต่อมา ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบมูลฐานสำคัญอันดับแรกของการออกแบบการจัดวาง (Layout Design) ซึ่งนักออกแบบจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ขนาด (Type Size) รูปร่างลักษณะ(Character) ส่วนประกอบ ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดและการผลิตตัวอักษร เพื่อเกิดความเข้าใจและการนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม การออกแบบกราฟิกโดย ทั่วๆไป มีการนำตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Displayface เพื่อการ ตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่างและรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด่นเป็นพิเศษ เช่น การพาดหัวเรื่อง(Heading) คำประกาศ คำเตือน เป็นต้น
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร
ตัวอักษร ตัวหนังสือหรือตัวพิมพ์ คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของมนุษย์ ช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ไปยังผู้อื่นได้ไกลๆ และยังรักษาความคิดและความรู้ให้อยู่ได้นานถึงคนรุ่นหลัง ตัวอักษรเป็นสื่อความหมายความเข้าใจอย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์เมื่อมีภาษาพูดของตนเองแล้ว ก็มักจะคิดค้นตัวอักษรไว้ใช้เขียนเพื่อเผยแพร่ในกลุ่มชน ตัวอักษรในยุคก่อนๆมีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรไฮเออโรกลิฟิคของชาวอียิปต์โบราณและอักษรโฟนิเชียนซึ่งถือว่าเป็นต้นตอของการกำเนิดเป็นตัวอักษรในภาษาต่างๆ ของทุกชาติ ในเวลาต่อมา ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบมูลฐานสำคัญอันดับแรกของการออกแบบการจัดวาง (Layout Design) ซึ่งนักออกแบบจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ขนาด (Type Size) รูปร่างลักษณะ(Character) ส่วนประกอบ ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดและการผลิตตัวอักษร เพื่อเกิดความเข้าใจและการนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม การออกแบบกราฟิกโดย ทั่วๆไป มีการนำตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Displayface เพื่อการ ตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่างและรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด่นเป็นพิเศษ เช่น การพาดหัวเรื่อง(Heading) คำประกาศ คำเตือน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)