วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Download คู่มือการใช้งานโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ Fontlab5 User Manual

โปรแกรมฟ้อนต์แล็ป เป็นโปรแกรมเครื่องมืที่ใช้สำหรับการออกแบบชุดตัวอักษรและตัวพิมพ์ และสร้างไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์เพื่อใช้ติดตั้งในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างและแก้ไขคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ประเภท Postscript,Truetype,Unicode,Opentype เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ Fontlab5 User Manual เพื่อใช้ศึกษาด้วยตนเองได้ฟรีได้จากที่ลิ้งค์นี่

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานกิจกรรมกลุ่มการทำงานเพื่องานประจำปี Gifts on the moon concept " Love Product" ภายในเดือนมกราคม ปี 2556

งานกิจกรรมกลุ่มการทำงานสร้างสรรค์ร่วมกัน ในงานประจำปี Gifts on the moon หัวข้อ " Love Product" ตามสาระเนื้อหาที่เรียนในแต่ละวิชา อันเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและเสริมทักษะวิชาชีพศิลปกรรมที่ปฏิบัติจริง (Design Work-Based Learning) เริ่มต้นโดยให้นักศึกษาเข้าไปอ่าน-ศึกษา ดาวน์โหลด แนวทางการเขียนเอกสารรายงานก่อนนะครับ คลิกอ่านแนวทางการเขียนและการดำเนินงานที่นี่ จากนั้นร่วมกันศึกษาวางแผนงานหาแนวทางเสนอรายงานขั้น ส.1 โดยแต่ละคนในกลุ่มต้องค้นหา Design Inspiration มานำเสนอ อย่างน้อย 1 อย่างและร่วมกันเผยแพร่ผ่านทาง Googlepages หรืออยากจะทำใน facebook Fan page ก็ลองทำเสนอได้ ร่วมปรึกษา-ทำด้วยกันในนามกลุ่ม ที่ทุกคนต้องสื่อแสดงถึงการร่วมมือกันทำงานทั้งแบบออนไลน์และแบบซึ่งหน้า ให้แสดงเอกสารภาพถ่ายกิจกรรมและรับผิดชอบงานส่วนตน ผ่านทางนี้โดยตรง ส่วนรายงานกลุ่มก็เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่แชร์ให้ในแต่ละกลุ่มเรียน ลองคลิกเข้าดูอัลบั้มภาพบรรยากาศการจัดงานนิทรรศการผลงานการบ่มเพาะวิสาหกิจทางศิลปกรรม ระดับนักศึกษาในสถานศึกษา ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ ในปีพศ.2551 คลิกดูภาพที่นี่

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ligature คืออะไร

Ligature คืออะไร ผมอ่านออกเสียงว่า ลิกะเจอร์ มีบางท่านอ่านออกเสียงแบบติดตลกพูดย่อๆว่า ลิเก จะคืออะไร ก็คือวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักษร (Type Arranging) ที่มีปัญหาเรื่องที่ว่างสีขาว (White Space) มากเกินไปหรือห่างมากไปอันเนื่องจากมีรูปขาดหาย(ในสายตาเรา)ไม่เต็มกรอบโครงสร้างสี่เหลี่ยม เช่นในภาษาลาตินตัวพิมพ์ใหญ่ ก็คือตัว A ตัว T เป็นต้น หรือปัญหาเรื่องการลำดับตำแหน่งรูปสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ในภาษาที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เมื่อเรียงพิมพ์แล้วเกิดมีบางส่วนของรูปอักขระซ้อนทับหรือบังกัน เช่นในภาษาลาตินก็อย่างเช่นตัวพิมพ์เล็ก fi ,fl ทำให้อ่าน-ดูขัดตาไม่สวยด้วยปัญหาเรื่องระยะห่างของแบบตัวพิมพ์หรืออาจเนื่องจากการปรับจัดระยะชิดกั้นหน้าหนัง (Side Bearing) หรือที่เรียกว่าการจัดระยะเคิร์นนิ่ง (Kerning) เองหรืออัตโนมัติไม่ครบทุกรูปอักขระ-สระ ที่มีมากมาย เช่นในภาษาไทย มีรูปสระ-วรรณยุกต์ซ้อนทับตำแหน่งพิมพ์เดิม ซ้อนอยู่เป็นระดับบน-ล่างพยัญชนะ และยังมีหางยาวพ้นระดับความสูงของบรรทัดปกติอีกด้วย เช่น ป ฟ ฝ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวมานี้จึงต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อให้การเรียงพิมพ์ตัวเนื้อความออกมาได้ดีสวยงามไม่น่ารำคาญสายตาเวลาอ่าน นั่นก็คือต้องมี การแก้ปัญหาให้เช่นการเขียนคำสั่ง(Tag)กำกับอักขระเพิ่มเป็นพิเศษ และมีการเขียนรูปอักขระเพิ่มด้วยการรวมร่างแบบตัวอักขระ สองหรือสามตัวให้เป็นรูปตัวเดียว เหมือนกับการเขียนและเรียกใช้งานรูปสัญลักษณ์อักขระพิเศาที่นอกเหนือจากที่มีในตารางมาตรฐานของแป้นพิมพ์  ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการจัดการแก้ไข ใส่ตำสั่งแท๊กสคริ๊ป หรือด้วยการการเขียนโปรแกรมคำสั่งให้ดำเนินการเรียกใช้ให้โดยอัตโนมัติ หรือเรียกใช้รูปอักขระที่มีรูปลักษณ์พิเศษที่ถูกเขียนควบรวมรูปร่างแทนขึ้นใหม่(Ligatures)เช่นใช้ภาพอักขระ ฟั ตัวเดียวที่มีเพิ่มใช้จากในตาราง glyph (ปกติต้องพิมพ์ลำดับอักขระคือ ฟอฟันและไม้หันอากาศ) ให้เข้าใช้แทนที่ตำแหน่งพิมพ์ เมื่อเงื่อนไขที่พิมพ์รูปอักขระป้อนเข้าตรงกับคำสั่งที่เขียนขึ้นไว้ในโปรแกรมฟ้อนต์นั่นเอง ซึ่งความสามารถนี้ในโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ มีให้พร้อมรองรับการแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เป็นคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นที่ศึกษาได้ง่าย ทั้งในเวอร์ชั่นสำหรับติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ MacIntosh และระบบปฏิบัติการ Windows

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอกสาร มคอ.3 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์

เอกสาร มคอ.3 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ สำหรับเผยแพร่ให้นักศึกษา-ผู้ปกครอง-ผู้บริหาร เพื่อนอาจารย์หรือผู้สนใจทั่วไป ได้อ่าน-พิมพ์ ดาวน์โหลด จัดเก็บไว้ และเพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิชานี้และสาขาวิชาศิลปกรรม ต่อไป

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อความสำหรับในทดสอบผลพิมพ์ฟ้อนต์ที่ออกแบบ(Test)ในโปรแกรมFontCreator

     ในการนำเสนอผลการสร้างฟ้อนต์ลายมือนั้น ต้องมีการทดสอบผลพิมพ์ ดังนั้นก่อนติดตั้งฟ้อนต์หรือขณะปรับแก้รูปอักขระ จึงต้องมีการทดสอบฟ้อนต์ในโปรแกรมที่ออกแบบแก้ไข เช่นในfontcreator ใช้เมนูFont>test ดังนั้นเพื่อการตรวจงานที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการประเมินผลงาน อาจารย์จึงให้ใช้ข้อความที่ให้นี้ไปใช้เพื่อทดสอบผลงานพิมพ์ โดยให้ก็อปปี้เนื้อหาข้างล่างนี้ไปวางในหน้าทดสอบการพิมพ์ผลแสดงการทดสอบแบบตัวพิมพ์ โดยปรับแก้ไขข้อมูลให้เป็นชื่อผลงานของตัวเองให้ถูกต้องและจับภาพใส่ในเล่มรายงานการสร้างฟ้อนต์ลายมือด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลแบบตัวพิมพ์(Font Information)
ชื่อแบบตัวพิมพ์ (Typeface/Font Name )ชื่อ บางพูด (Bangpood) หรือชุดตัวอักษรทั้งหมดในไฟล์นี้ชื่อชุดว่าบางพูด 
เวอร์ชั่น 1.000 ประเภทของไฟล์ตัวพิมพ์ OpenType Layout, TrueType Outlines
ออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 1 เดือนมกราคม พศ.2555

ตัวอย่างรูปแบบตัวอักขระภาษาลาติน(Latin Characters) ได้แก่
ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ0123456789
abcdefghijklmnopqrstuvwx!@#%^&*()_+|{}[]:"<>?;'",./\*-.=;'

ตัวอย่างรูปแบบตัวอักขระภาษาไทย(Thai Characters) ได้แก่
กขฃคฅฆงจฉชซฌญฎฏฐฒณดถทธนบปผฝพฟภมยรฤลฦวศษสหฬอฮ๐๑๒๓๔๕๖๗๘๙
ๆๅ฿อะอาอุึอูอิอีอึอือ่อ้อ๊อ๋อ์อำเแโใไ?

ข้อความสำหรับการทดสอบการพิมพ์รับคำสั่งพิมพ์ และเพื่อแสดงตำแหน่งการพิมพ์รูปอักขระที่ออกแบบ-จัดช่องว่าง ช่องไฟระหว่างรูปอักขระและระหว่างคำ ทั้งชุดคือภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
   In typography, a font is traditionally defined as a quantity of sorts composing a complete character set of a single size and style of a particular typeface. For example, the complete set of all the characters for “9-point Bulmer” is called a font, and the “10-point Bulmer” would be another separate font, but part of the same font family, whereas “9-point Bulmer boldface” would be another font in a different font family of the same typeface. One individual font character might be referred to as a “piece of font” or a “piece of type”.Font nowadays is frequently used synonymously with the term typeface, although they had clearly understood different meanings before the advent of digital typography and desktop publishing.
  ในทางวงการพิมพ์นั้นกล่าวถึงฟ้อนต์โดยทั่วไปว่า หมายถึงตัวอักษรที่ใช้เป็นแบบตัวเรียงพิมพ์เนื้อหา ที่มีขนาดและรูปแบบเป็นชุดเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นแบบตัวอักษรที่ใช้ในการเรียงพิมพ์เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ มีชื่อแบบตัวอักษรชุดนี้ว่า บางพูด(Bangpood) ที่ประกอบด้วยรูปอักขระ(Glyphs) ของตัวพยัญชนะ (Consonants) สระ(Vowels) วรรณยุกต์ (Tones) เครื่องหมายสัญลักษณ์(Signs and Symbols) วรรคตอน(Punctuation) อักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
    ความเข้าใจในคำศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางการพิมพ์นั้น มีผู้รู้กล่าวไว้มากมาย ดังที่จำนำมาอ้างอิง-แปลสรุปความหมายไว้ให้เข้าใจเป็นความรู้พื้นฐานไว้ร่วมกันในที่นี้คือ.    
    ความหมายภาษาไทยของคำว่า Typography  นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำไทย โดยราชบัณฑิตยสถานไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คำว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคำแปลไว้ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น
    Kyrnin,Jenifer,2011 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่าหมายถึงการออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูปอักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุกรูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงา่นที่ออกแบบด้วยนั่นเอง
    Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(Kyrnin,Jenifer,2011)
*หมายเหตุ ให้เปลี่ยนชื่อฟ้อนต์และข้อมูลผู้ออกแบบเองด้วย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...