วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

Typography หมายความว่าอย่างไรกันแน่?


 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 30/9/2554
    ความเข้าใจในคำศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางการพิมพ์นั้น มีผู้รู้กล่าวไว้มากมาย ดังที่จำนำมาอ้างอิง-แปลสรุปความหมายไว้ให้เข้าใจ เป็นความรู้พื้นฐานไว้ร่วมกันในที่นี้คือ.
    ความหมายภาษาไทยของคำว่า Typography  นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำไทย โดยราชบัณฑิตยสถาน  ไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คำว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคำแปลไว้ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น
    Kyrnin,Jenifer,2011 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่า หมายถึงการออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูปอักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุกรูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงา่นที่ออกแบบด้วยนั่นเอง
Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(Kyrnin,Jenifer,2011)
    Typography is the design and use of typefaces as a means of communication. It is considered to have begun with Gutenberg and the development of moveable type. But typography has its roots in handwritten letterforms. Typography encompasses everything from calligraphy through digital type and type on Web pages. It also includes type designers who create new letterforms as well as designers and calligraphers who use the letters as part of their designs.Typography uses typefaces and the whitespace around and through them to create a whole design.(Kyrnin,Jenifer,2011)
     จากประเด็นความหมายที่กล่าวยกอ้างและแปลสรุปมาข้างต้นนี้ ผู้เขียนจึงใคร่สรุปเป็นประเด็นตั้งต้นเพื่อเป็นแนวทางเสนอไว้ เป็นศัพท์คำไทยและการนิยามความหมายไว้ดังนี้คือ
     Typography ก็คือ ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์(Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระับบการพิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ Font & Typeface Design

การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ( Font & Typeface Design)
โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร

ตัวอักษร ตัวหนังสือหรือตัวพิมพ์ คือ เครื่องหมายที่ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของมนุษย์ ช่วยเผยแพร่ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ไปยังผู้อื่นได้ไกลๆ และยังรักษาความคิดและความรู้ให้อยู่ได้นานถึงคนรุ่นหลัง ตัวอักษรเป็นสื่อความหมายความเข้าใจอย่างหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน มนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์เมื่อมีภาษาพูดของตนเองแล้ว ก็มักจะคิดค้นตัวอักษรไว้ใช้เขียนเพื่อเผยแพร่ในกลุ่มชน ตัวอักษรในยุคก่อนๆมีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรไฮเออโรกลิฟิคของชาวอียิปต์โบราณและอักษรโฟนิเชียนซึ่งถือว่าเป็นต้นตอของการกำเนิดเป็นตัวอักษรในภาษาต่างๆ ของทุกชาติ ในเวลาต่อมา ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบมูลฐานสำคัญอันดับแรกของการออกแบบการจัดวาง (Layout Design) ซึ่งนักออกแบบจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ขนาด (Type Size) รูปร่างลักษณะ(Character) ส่วนประกอบ ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดและการผลิตตัวอักษร เพื่อเกิดความเข้าใจและการนำมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม การออกแบบกราฟิกโดย ทั่วๆไป มีการนำตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

 1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดสายตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Displayface เพื่อการ ตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่างและรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่มีความเด่นเป็นพิเศษ เช่น การพาดหัวเรื่อง(Heading) คำประกาศ คำเตือน เป็นต้น
2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือการใช้ตัวอักษรเป็น Bookface หรือเป็นตัวพิมพ์เนื้อหา ที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความ(Typesetting) เพื่อการบรรยายอธิบายส่วน ประกอบปลีกย่อยของข่าวสารและเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเผยแพร่ 
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...