วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อความสำหรับในทดสอบผลพิมพ์ฟ้อนต์ที่ออกแบบ(Test)ในโปรแกรมFontCreator

     ในการนำเสนอผลการสร้างฟ้อนต์ลายมือนั้น ต้องมีการทดสอบผลพิมพ์ ดังนั้นก่อนติดตั้งฟ้อนต์หรือขณะปรับแก้รูปอักขระ จึงต้องมีการทดสอบฟ้อนต์ในโปรแกรมที่ออกแบบแก้ไข เช่นในfontcreator ใช้เมนูFont>test ดังนั้นเพื่อการตรวจงานที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการประเมินผลงาน อาจารย์จึงให้ใช้ข้อความที่ให้นี้ไปใช้เพื่อทดสอบผลงานพิมพ์ โดยให้ก็อปปี้เนื้อหาข้างล่างนี้ไปวางในหน้าทดสอบการพิมพ์ผลแสดงการทดสอบแบบตัวพิมพ์ โดยปรับแก้ไขข้อมูลให้เป็นชื่อผลงานของตัวเองให้ถูกต้องและจับภาพใส่ในเล่มรายงานการสร้างฟ้อนต์ลายมือด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลแบบตัวพิมพ์(Font Information)
ชื่อแบบตัวพิมพ์ (Typeface/Font Name )ชื่อ บางพูด (Bangpood) หรือชุดตัวอักษรทั้งหมดในไฟล์นี้ชื่อชุดว่าบางพูด 
เวอร์ชั่น 1.000 ประเภทของไฟล์ตัวพิมพ์ OpenType Layout, TrueType Outlines
ออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 1 เดือนมกราคม พศ.2555

ตัวอย่างรูปแบบตัวอักขระภาษาลาติน(Latin Characters) ได้แก่
ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ0123456789
abcdefghijklmnopqrstuvwx!@#%^&*()_+|{}[]:"<>?;'",./\*-.=;'

ตัวอย่างรูปแบบตัวอักขระภาษาไทย(Thai Characters) ได้แก่
กขฃคฅฆงจฉชซฌญฎฏฐฒณดถทธนบปผฝพฟภมยรฤลฦวศษสหฬอฮ๐๑๒๓๔๕๖๗๘๙
ๆๅ฿อะอาอุึอูอิอีอึอือ่อ้อ๊อ๋อ์อำเแโใไ?

ข้อความสำหรับการทดสอบการพิมพ์รับคำสั่งพิมพ์ และเพื่อแสดงตำแหน่งการพิมพ์รูปอักขระที่ออกแบบ-จัดช่องว่าง ช่องไฟระหว่างรูปอักขระและระหว่างคำ ทั้งชุดคือภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
   In typography, a font is traditionally defined as a quantity of sorts composing a complete character set of a single size and style of a particular typeface. For example, the complete set of all the characters for “9-point Bulmer” is called a font, and the “10-point Bulmer” would be another separate font, but part of the same font family, whereas “9-point Bulmer boldface” would be another font in a different font family of the same typeface. One individual font character might be referred to as a “piece of font” or a “piece of type”.Font nowadays is frequently used synonymously with the term typeface, although they had clearly understood different meanings before the advent of digital typography and desktop publishing.
  ในทางวงการพิมพ์นั้นกล่าวถึงฟ้อนต์โดยทั่วไปว่า หมายถึงตัวอักษรที่ใช้เป็นแบบตัวเรียงพิมพ์เนื้อหา ที่มีขนาดและรูปแบบเป็นชุดเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นแบบตัวอักษรที่ใช้ในการเรียงพิมพ์เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ มีชื่อแบบตัวอักษรชุดนี้ว่า บางพูด(Bangpood) ที่ประกอบด้วยรูปอักขระ(Glyphs) ของตัวพยัญชนะ (Consonants) สระ(Vowels) วรรณยุกต์ (Tones) เครื่องหมายสัญลักษณ์(Signs and Symbols) วรรคตอน(Punctuation) อักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
    ความเข้าใจในคำศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางการพิมพ์นั้น มีผู้รู้กล่าวไว้มากมาย ดังที่จำนำมาอ้างอิง-แปลสรุปความหมายไว้ให้เข้าใจเป็นความรู้พื้นฐานไว้ร่วมกันในที่นี้คือ.    
    ความหมายภาษาไทยของคำว่า Typography  นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำไทย โดยราชบัณฑิตยสถานไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คำว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคำแปลไว้ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น
    Kyrnin,Jenifer,2011 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่าหมายถึงการออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูปอักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุกรูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงา่นที่ออกแบบด้วยนั่นเอง
    Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(Kyrnin,Jenifer,2011)
*หมายเหตุ ให้เปลี่ยนชื่อฟ้อนต์และข้อมูลผู้ออกแบบเองด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...