โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
30/9/2554
ความเข้าใจในคำศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทางการพิมพ์นั้น มีผู้รู้กล่าวไว้มากมาย ดังที่จำนำมาอ้างอิง-แปลสรุปความหมายไว้ให้เข้าใจ เป็นความรู้พื้นฐานไว้ร่วมกันในที่นี้คือ.
ความหมายภาษาไทยของคำว่า Typography นั้นยังไม่มีการบัญญัติศัพท์คำไทย โดยราชบัณฑิตยสถาน ไว้โดยตรง (2554) ส่วนใหญ่มักแปลและใช้คำว่า การพิมพ์ ดังเช่นเป็นคำแปลไว้ในพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ Lexitron ของ Nectec เป็นต้น
Kyrnin,Jenifer,2011 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ Typograpy เอาไว้ว่า หมายถึงการออกแบบและการใช้งานตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีจุดเิ่ริ่มต้นมานับแต่ที่กูเตนเบิร์กได้เริ่มใช้ในงานการพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรสมาก่อน แต่งานไทโพกราฟี่นั้น มีรากฐานการพัฒนามาจากงานเขียนตัวอักษรแบบคัดลายมือเป็นรูปอักขระ ดังนั้นขอบข่ายของงานและความหมายจึงมีความครอบคลุมไปถึงทุกสิ่งทุกอย่าง นับแต่การเขียนรูปอักขระด้วยมือหรือการออกแบบตัวอักษร ไปจนถึงงานการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลในหน้าเว็บไซต์อีกด้วย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงภาระงานของนักออกแบบที่เป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์ตัวอักษร การจัดตัวอักษรทุกรูปแบบทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในงา่นที่ออกแบบด้วยนั่นเอง
Typography จึงเป็นการจัดวางแบบตัวพิมพ์(Typefaces)ให้เหมาะสมกับพื้นที่และองค์ประกอบทางการพิมพ์ที่ใช้ในงานออกแบบทั้งหมดนั่นเอง(Kyrnin,Jenifer,2011)

จากประเด็นความหมายที่กล่าวยกอ้างและแปลสรุปมาข้างต้นนี้ ผู้เขียนจึงใคร่สรุปเป็นประเด็นตั้งต้นเพื่อเป็นแนวทางเสนอไว้ เป็นศัพท์คำไทยและการนิยามความหมายไว้ดังนี้คือ
Typography ก็คือ ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์(Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระับบการพิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด