เว็บบล็อกบันทึกและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วิชา การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟ้อนต์ : Lettering,Font & Typefaces Design KM Site
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
งานกิจกรรมกลุ่มการทำงานเพื่องานประจำปี Gifts on the moon concept " Love Product" ภายในเดือนมกราคม ปี 2556
งานกิจกรรมกลุ่มการทำงานสร้างสรรค์ร่วมกัน ในงานประจำปี Gifts on the moon หัวข้อ " Love Product" ตามสาระเนื้อหาที่เรียนในแต่ละวิชา อันเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและเสริมทักษะวิชาชีพศิลปกรรมที่ปฏิบัติจริง (Design Work-Based Learning) เริ่มต้นโดยให้นักศึกษาเข้าไปอ่าน-ศึกษา ดาวน์โหลด แนวทางการเขียนเอกสารรายงานก่อนนะครับ คลิกอ่านแนวทางการเขียนและการดำเนินงานที่นี่ จากนั้นร่วมกันศึกษาวางแผนงานหาแนวทางเสนอรายงานขั้น ส.1 โดยแต่ละคนในกลุ่มต้องค้นหา Design Inspiration มานำเสนอ อย่างน้อย 1 อย่างและร่วมกันเผยแพร่ผ่านทาง Googlepages หรืออยากจะทำใน facebook Fan page ก็ลองทำเสนอได้ ร่วมปรึกษา-ทำด้วยกันในนามกลุ่ม ที่ทุกคนต้องสื่อแสดงถึงการร่วมมือกันทำงานทั้งแบบออนไลน์และแบบซึ่งหน้า ให้แสดงเอกสารภาพถ่ายกิจกรรมและรับผิดชอบงานส่วนตน ผ่านทางนี้โดยตรง ส่วนรายงานกลุ่มก็เก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่แชร์ให้ในแต่ละกลุ่มเรียน ลองคลิกเข้าดูอัลบั้มภาพบรรยากาศการจัดงานนิทรรศการผลงานการบ่มเพาะวิสาหกิจทางศิลปกรรม ระดับนักศึกษาในสถานศึกษา ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ ในปีพศ.2551 คลิกดูภาพที่นี่
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ligature คืออะไร
Ligature คืออะไร ผมอ่านออกเสียงว่า ลิกะเจอร์ มีบางท่านอ่านออกเสียงแบบติดตลกพูดย่อๆว่า ลิเก จะคืออะไร ก็คือวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการจัดเรียงพิมพ์ตัวอักษร (Type Arranging) ที่มีปัญหาเรื่องที่ว่างสีขาว (White Space) มากเกินไปหรือห่างมากไปอันเนื่องจากมีรูปขาดหาย(ในสายตาเรา)ไม่เต็มกรอบโครงสร้างสี่เหลี่ยม เช่นในภาษาลาตินตัวพิมพ์ใหญ่ ก็คือตัว A ตัว T เป็นต้น หรือปัญหาเรื่องการลำดับตำแหน่งรูปสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ ในภาษาที่แตกต่างกัน อาทิเช่น เมื่อเรียงพิมพ์แล้วเกิดมีบางส่วนของรูปอักขระซ้อนทับหรือบังกัน เช่นในภาษาลาตินก็อย่างเช่นตัวพิมพ์เล็ก fi ,fl ทำให้อ่าน-ดูขัดตาไม่สวยด้วยปัญหาเรื่องระยะห่างของแบบตัวพิมพ์หรืออาจเนื่องจากการปรับจัดระยะชิดกั้นหน้าหนัง (Side Bearing) หรือที่เรียกว่าการจัดระยะเคิร์นนิ่ง (Kerning) เองหรืออัตโนมัติไม่ครบทุกรูปอักขระ-สระ ที่มีมากมาย เช่นในภาษาไทย มีรูปสระ-วรรณยุกต์ซ้อนทับตำแหน่งพิมพ์เดิม ซ้อนอยู่เป็นระดับบน-ล่างพยัญชนะ และยังมีหางยาวพ้นระดับความสูงของบรรทัดปกติอีกด้วย เช่น ป ฟ ฝ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวมานี้จึงต้องมีการแก้ปัญหาเพื่อให้การเรียงพิมพ์ตัวเนื้อความออกมาได้ดีสวยงามไม่น่ารำคาญสายตาเวลาอ่าน นั่นก็คือต้องมี การแก้ปัญหาให้เช่นการเขียนคำสั่ง(Tag)กำกับอักขระเพิ่มเป็นพิเศษ และมีการเขียนรูปอักขระเพิ่มด้วยการรวมร่างแบบตัวอักขระ สองหรือสามตัวให้เป็นรูปตัวเดียว เหมือนกับการเขียนและเรียกใช้งานรูปสัญลักษณ์อักขระพิเศาที่นอกเหนือจากที่มีในตารางมาตรฐานของแป้นพิมพ์ ซึ่งปัญหานี้ก็ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการจัดการแก้ไข ใส่ตำสั่งแท๊กสคริ๊ป หรือด้วยการการเขียนโปรแกรมคำสั่งให้ดำเนินการเรียกใช้ให้โดยอัตโนมัติ หรือเรียกใช้รูปอักขระที่มีรูปลักษณ์พิเศษที่ถูกเขียนควบรวมรูปร่างแทนขึ้นใหม่(Ligatures)เช่นใช้ภาพอักขระ ฟั ตัวเดียวที่มีเพิ่มใช้จากในตาราง glyph (ปกติต้องพิมพ์ลำดับอักขระคือ ฟอฟันและไม้หันอากาศ) ให้เข้าใช้แทนที่ตำแหน่งพิมพ์ เมื่อเงื่อนไขที่พิมพ์รูปอักขระป้อนเข้าตรงกับคำสั่งที่เขียนขึ้นไว้ในโปรแกรมฟ้อนต์นั่นเอง ซึ่งความสามารถนี้ในโปรแกรมฟ้อนต์แล็บ มีให้พร้อมรองรับการแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เป็นคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นที่ศึกษาได้ง่าย ทั้งในเวอร์ชั่นสำหรับติดตั้งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ MacIntosh และระบบปฏิบัติการ Windows
วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เอกสาร มคอ.3 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์
เอกสาร มคอ.3 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ สำหรับเผยแพร่ให้นักศึกษา-ผู้ปกครอง-ผู้บริหาร เพื่อนอาจารย์หรือผู้สนใจทั่วไป ได้อ่าน-พิมพ์ ดาวน์โหลด จัดเก็บไว้ และเพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิชานี้และสาขาวิชาศิลปกรรม ต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)