วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

ปิดคอร์ส 2/2558 จงตอบโดยแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์นี้ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ ให้ครบถ้วน



เรียนจนจบภาคเรียนที่ 2/2558 แล้ว นักศึกษาได้ความรู้และประสบการณ์อะไรบ้าง จงตอบโดยแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์นี้ ในประเด็นดังต่อไปนี้คือ ให้ครบถ้วน
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 5.ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะวิชาชีพ 7.ดังหลักฐานแสดงคือ แจ้งชื่อ-นามสกุล และกลุ่มเรียน 1.เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ ชื่อที่อยู่ URL:...... 2.ได้สรุปเล่มรายงานผลการออกแบบสร้างสรรค์และพัฒนาแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์เผยแพร่ออนไลน์เป็นหนังสือออนไลน์โดยแสดงไว้ที่เว็บไซต์กลุ่มที่ http://issuu.com เชื่อมโยงเข้าอ่านเอกสารโดยตรงได้ตามที่อยู่ URLเอกสารโดยตรงตามลิงค์คือ....... 3.ได้สร้างฟ้อนต์เองชื่อ ................โดยนำไฟล์ฟ้อนต์ภายใต้ชื่อลิขสิทธิ์ฟ้อนต์ตระกูล ซีอาร์ยู (CRU-Font Family)

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

Gift on the moon 2016 การออกร้านงานกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การประกอบวิชาชีพศิลปกรรม ในวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ Artd2304

Gift on the moon 2016 การออกร้านงานกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การประกอบวิชาชีพศิลปกรรม ในวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ Artd2304    ในงานกิ๊ฟ ออนเดอะมูน ประจำภาคการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2/2558 ระหว่างวันที่ 30-3-2559 ถึง 1 - 4 - 2559 อาคาร 28

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

FontArk : font editor, font creator : โปรแกรม-เครื่องมือสร้าง-แก้ไขแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์แบบออนไลน์ ช่วงทดสอบนี้ฟรี

FontArk is an innovative browser-based font editor, font creator (BETA), featuring the most versatile real-time multiple glyph editing system.

ฟ้อนต์อาร์ค นวัตกรรมใหม่โปรแกรมและเครื่องมือออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ (Type Design) ตัวใหม่ที่ออกแบบโปรแกรมมาเพื่อให้ใช้งานง่าย แต่ต้องใช้เวลาศึกษานะครับ เขามีวิดีโอสอนให้ด้วย สะดวกคือไม่ต้องติดตั้ง สามารถออกแบบ-สร้างได้ผ่านทางหน้าเว็ปบราวเซอร์ทุกอย่าง บันทึกเก็บโครงงานเอาไว้ได้ ทำได้ตลอดเวลา หากทำเสร็จโปรแกรมก็มีคำสั่งให้สร้างฟ้อนต์(Generate Font)ได้ด้วย และดาวน์โหลดมาใช้ติดตั้งใช้ได้ทันที (สวยไม่สวยหรือช่องไฟตัวอักษรก็ต้องจัดก่อนนะครับ ช่วงแรกก็เหมาะกับภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาไทยเรานั้นคงต้องสร้า่ง-บันทึกลงมาเพื่อจัดการต่อด้วยโปรแกรมสร้างฟ้อนต์-เขียนคำสั่งกำกับอีกต่อนึง) เขาแจ้งว่าใช้สร้างรูปอักขระ(Glyph)ได้ทุกภาษาและที่สำคัญคือประยุกต์มาทำโลโก้ (Logotype)ได้ด้วย ลองสมัครทดลองใช้เวอร์ชั่นทดสอบอยู่ในขณะนี้ดูครับ ผ่านบัญชีของ facebook นั่นแหล่ะ คลิกเดียวเป็นสมาชิกได้ Start ได้เลย เขาให้เครดิตไว้ 100 ครั้ง save font 1 ครั้งก็เริ่มนับถอยหลัง ต่อไปคงเก็บเงินแน่นอนครับ ตอนนี้ใครสนใจก็ลองใช้ดูร่วมเป็นหนูตะเภาให้เขาพัฒนาไปก่อน นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ควรต้องศึกษาไว้นะครับ อย่างน้อยก็ใช้เป็นเครื่องมือสร้างแบบตัวอักษร เป็นเครื่องมือเวคเตอร์อย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจฟั่งชั่นของการควบคุมกำกับเส้นดัดเส้น Vector ,Path, curve ,Node etcs หลักๆก็มีประมาณ 10 รายการคำสั่งที่เป็นภาษาที่เราต้องเรียนรู้ เน็ตบ้านก็เร็วขึ้นแล้ว ลองดูเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อฐานทักษะฝีมือและอาชีพการงานที่เราต้องใช้ตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ทุกวันอยู่แล้ว เชิญทดลองได้ครับที่ http://fontark.net/ อย่าเล่นแต่เกมออนไลน์อย่างเดียว

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ข้อความสำหรับทดสอบผลการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์( Pangram Text for Test Font)

ข้อความสำหรับทดสอบผลการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์( Pangram Text for Test Font)

หลังจากที่ได้จัดทำแบบตัวอักขระ จัดสัดส่วน ความสูง ลงในตาราง Glyph Template จัดระยะ Left Side -Right Side Bearing Kerning และจัดตำแหน่งสระ-วรรณยุกต์แล้ว ขั้นตอนที่นักศึกษาต้องทดสอบผลงานก็คือต้องมีการ ทดสอบผลการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ด้วยการนำข้อความที่แสดงผลรูปอักขระทุกตัว( Pangram Text for Test Font) ได้ให้มากที่สุดทั้งไทย-อังกฤษ ซึ่งเรียกว่า แพนแกรม ( Pangram)

แพนแกรม (ภาษาอังกฤษ: pangram, ภาษากรีก: pan gramma) หมายถึง ทุกตัวอักษร (Every letter) หมายถึง ข้อความ วลี ประโยคที่ใช้แสดงผลการพิมพ์คำ การเขียนหรือนำเสนอผลการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ทุกตัวอักขระ(Glyph)ในภาษานั้นๆ ประโยค ข้อความ วลีของแพนแกรมที่ที่ดีที่สุด มักจะเขียนเป็นประโยคหรือข้อความที่สั้นที่สุด ง่ายต่อการอ่านและจดจำ สามารถสื่อแสดงรูปแบบพยัญชนะ (Charaters) สระ (Vowels) วรรณยุกต์ (Tones) เครื่องหมาย ( Marks) และหรือตัวเลข (Numbers) เอาไว้โดยให้มีการใช้ตัวอักขระซ้ำกันให้น้อยที่สุด อีกทั้งยังเป็นการทดสอบผลการจัดตำแหน่งสระ วรรณยุกต์ และระยะช่องไฟระหว่างตัวพิมพ์ (LSB & RSB)  Kerning Leading และ Word Space ที่ออกแบบจัดในเมตริกและโปรแกรมเอาไว้ ซึ่งในภาษาไทยเรานั้นมักจะเขียนเป็นบทกลอน หรือการสื่อแสดงความหมาย คำคล้าย คำพ้องเสียงและซ่อนสื่ออารมณ์ไปด้วยในตัว ดังที่ปรากฏมีใช้ทดสอบในปัจจุบันคือ

ภาษาไทย
เป็นมนุษย์สุดประเสริฐเลิศคุณค่า กว่าบรรดาฝูงสัตว์เดรัจฉาน
จงฝ่าฟันพัฒนาวิชาการ         อย่าล้างผลาญฤๅเข่นฆ่าบีฑาใคร
ไม่ถือโทษโกรธแช่งซัดฮึดฮัดด่า หัดอภัยเหมือนกีฬาอัชฌาสัย
ปฏิบัติประพฤติกฎกำหนดใจ พูดจาให้จ๊ะๆ จ๋า น่าฟังเอยฯ

นิยมนำไปใช้ในกลุ่มผู้ผลิตฟ้อนต์และนักออกแบบตัวพิมพ์ ปัจจุบันนี้เห็นใน Googlefont/Thai Script

นายสังฆภัณฑ์ เฮงพิทักษ์ฝั่ง ผู้เฒ่าซึ่งมีอาชีพเป็นฅนขายฃวด
ถูกตำรวจปฏิบัติการจับฟ้องศาล ฐานลักนาฬิกาคุณหญิงฉัตรชฎา ฌานสมาธิ

ธรรมคุณหนุนความดีฑีฆรัตน์ สรรพสัตว์วัฏวจรถอนวิถี
อริยสัจตรัสสังโยคโลกโมฬี ดังกุมภีร์ผลาญชิวหาบีฑาทนต์
ฟังฉัตรทองของประเสริฐเลิศวิเศษ ฝ่ายต้นเหตุฎรงกรณ์อุดรผล
ยินสถานฌานสมาอารยะชน พึงซ่อนกลปรนนิบัตินิวัฒน์แฮฯ

ภาษาอังกฤษ
The quick brown fox jumps over the lazy dog.จะเห็นได้เมื่อคลิกเข้าเปิดไฟล์แสดงฟ้อนต์หรือเปิดดู Font Information  เมื่อจัดเก็บและเปิดดูใน GoogleDrive หรือ โปรแกรม Font Viewer อื่นๆ

คำตรวจสอบการจัดระยะช่องไฟ พยัญชนะ ตำแหน่งสระ-วรรณยุกต์ บนล่างไทย
บ่บ้บ๊บ๋บ์บับ็ป่ป้ป๊ป๋ป์ปั่ปั้ปั๊ปั๋ปิปีปึปืปิ่ปิ้ปิ๊ปิ๋ปืปื่ปื้ปื๊ปื๋ปิ์ฟิฟีฟึฟืฟัฟ็ฟํฟ่ฟ้ฟ๊ฟ๋ฝัฝํฝ็ฝ่ฝ้ฝ๊ฝ๋ฝ์ฝึฝึ่ฝึ้ฝึ๊ฝึ๋
กตัญญู กตเวทิตา ฐูปเตมีย์นาฬิกาฎูฏุนี้ไปโด้ใน๋ปี้ไปปี้โด่ วัฬฬิลาศ ภหลโยทิน สงกรานต์ไทย

AAA Kerning Text Test
Year Yorky Year Yarn Your Yir Tar Tear Time Tommorow Transition Typefaces
Absence Accident Advanctage Aerial Affect Agfa Ahmad Air Ajah Akkar All Among Anabel Aow Apart Aqua Arrow Assort Atmos Autumn Avon Aware Axail Ayyah Azuka
Base Bboy Bcat Bdoll Before Bfast Bgac Bhar Biscuit Bjorn Bkk Blog Bmw Bnu Bow Bpa BBq
Can Cba Ccat Cdc Center Cfg Kiren Kunta Kwanta Rare Rear River Rover Run Rwanda
Van Very Vineer Von Vun Advance Avance Aor Account Airy Autum Allow Arrow Award For Farn Fear Yun Story Start
Warning Wearing Worry Wun Wire Wrap What Why Wte Koto Kyoto Kiren Karn Kerning

ให้นักศึกษาทำสำเนาข้อความนี้ ไปทดสอบดูผลก่อน( Quick Test Font) ซึ่งประสบการณ์การดูและความเข้าใจในการพิมฑ์-เขียน-อ่านภาษาไทย-อังกฤษ จะทำให้ทราบว่าต้องกลับไปปรับแก้ไขไฟล์ฟ้อนต์แต่ละ glyph จัดการตำแหน่งแต่ละตัวอย่างไร ก่อนที่จะ Generate font ออกมาเป็นไฟล์ฟ้อนต์ .ttf/otf เพื่อติดตั้งเข้าใช้ในระบบ ใครที่จะทำฟ้อนต์ได้สวยให้แสดงผลออกมาได้ดีนั้น ก็จะความรู้และรู้ซึ้งถึงความยากง่ายของการที่จะทำอาชีพด้านนี้ ก็ต้องทดสอบทดลองกันต่อไป

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ฟ้อนต์ ทริปเปิ้ลเอ เทอดไทย : AAA Terd Thai Font



ฟ้อนต์เทอดไทย ที่ตั้งชื่อว่าเทอดไทย นี้มีความหมายเป็นสองนัยยะ นัยยะแรกเป็นความหมายตรงๆที่คนไทยทุกคนรู้ลึกๆ (Deep Insight) เมื่อได้เห็น ได้ใช้ ได้อ่าน ผู้ออกแบบเองก็ต้องการให้ผู้ใช้ ได้นำไปใช้อย่างเข้าใจ ทราบความหมายแฝงที่ซ่อนไว้และจะได้นำไปใช้อย่างถูกกาลเทศะ รู้เหมาะรู้ควรที่จะนำไปใช้สร้าง ข้อความข่าวสาร วันเวลา เทศกาล งานกิจกรรม รวมทั้งใช้กับสถานที่ที่ต้องการสื่อความหมายกับผู้อ่านผู้รับรู้ได้ ผู้ออกแบบก็คาดหวังว่า ในงานออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์นี้คงพอจะได้สร้างประโยชน์ด้านการรับรู้เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย เกิดสั่งสมประสบการณ์สำนึกร่วม แห่งความเป็นชาติไทยได้บ้าง และอีกนัยยะที่สองคือเป็นการใช้ชื่อของหมู่บ้านที่เป็นบ้านเกิดของผู้ออกแบบเอง ที่มีความหมายดีและตรงกับสำนึกแห่งบ้านเกิด คือ บ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ฟ้อนต์เทอดไทยนี้จัดเป็นตัวแบบตกแต่ง (Display Typeface) เป็นตัวอักษรแบบมีเชิง (Serif Font ) ชนิด Flared Serif Style ชุดแรกนี้ มี 6 ฟ้อนต์(รูปแบบ) คือ แบบปกติธรรมดา (Regular) ตัวเอน( Italic) ตัวหนา (Bold) ตัวหนาเอน (Bold-Italic) ตัวกว้าง (Expand) ตัวกว้างเอน (Expand -Italic) เพื่อสะดวกในการนำไปใช้งาน ได้กับระบบ PC /McIntosh

หากท่านสนใจที่จะสนับสนุนเป็นค่าลิขสิทธิ์ ค่าความคิดสร้างสรรค์ และ เป็นเจ้าของอนุญาตใช้ (Licence) AAA Font ก็ราคาแยกฟ้อนต์ละ 750 บาท หากรวมเป็นชุด ชุดนี้ปกติ รวม 6 ฟ้อนต์ พิเศษแถมเว็บฟ้อนต์ไฟล์ .woff สำหรับใช้งาน website embeded รวมเป็น 12 ไฟล์ฟ้อนต์ ช่วงโปรโมท 3 เดือน กุมภา-เมษา 59 นี้ลดเหลือ 4,200 จ่าย/แจ้ง/โอนเงิน/โดยตรง แจ้งใน Line ID prachid007 หรือโทร.0896670091 จ่ายตรงผ่านบัตรเครดิต หรือ Paypal ก็เชิญตามลิงค์ที่จัดไว้ครับ https://sellfy.com/p/gMw8

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ปฐมนิเทศ-กิจกรรมเตรียมตัวก่อนการเรียน ในภาคเรียนที่ 2/2558

สัปดาห์ที่1/2/2558 ปฐมนิเทศ-กิจกรรมเตรียมตัวก่อนการเรียน ในภาคเรียนที่ 2/2558
 ให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ เข้าทำกิจกรรมออนไลน์ก่อนเข้าชั้นเรียน โดยให้ดำเนินการดังนี้คือ(ศึกษาเรียนรู้ แก้ปัญหา ประสานงานด้วยตนเองหรือเรียนรู้ด้วยกันแบบกลุ่มปรึกษา)
- ให้ทุกคนเข้าอ่าน มคอ.3 ของรายวิชาให้เข้าใจ
- ให้ทุกคนใช้อีเมลของ @gmail.com 
ใช้อีเมลของที่ทางมหาวิทยาลัยให้ใช้ @chandra.ac.th ติดต่อฝ่ายไอที
- ให้ทุกคนใช้อีเมลของ @gmail.com 
ใช้อีเมลของที่ทางมหาวิทยาลัยให้ใช้ @chandra.ac.th  พร้อมใส่ภาพและข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน
สร้างเว็บบล็อกไว้เพื่อสรุปผลสาระการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ โดยใช้ชื่อเว็บบล็อกตามที่อาจารย์กำหนดรูปแบบให้ เช่น artd2304-YourRealName.blogspot.com แล้วเข้ากรอกข้อมูลจริงในรายการต่อไปนี้
1.กรอกข้อมูล ลงชื่อเข้าชั้นเรียนครั้งแรกในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียนรู้ประจำวิชา 
กลุ่ม 101 ภาคปกติ คลิกเข้าทำที่นี่
กลุ่ม 201 ภาคนอกเวลา คลิกเข้าทำที่นี่
2.ลงทะเบียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง สมัครเป็นสมาชิกระบบแล้วสมัครเข้าเรียนในวิชา เตรียมพร้อมเข้าสอบออนไลน์หรือส่งการบ้าน คลิกเข้าใช้ที่นี่ http://www.thaiteachers.info/claroline
3.ตอบแบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน คลิกทำที่นี้
ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการเรียนในสัปดาห์ 
ที่ 2 หรือภายในวันที่ 11/1/2559 เวลา 16.30.น

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องเตรียมมาเรียนด้วยทุกครั้ง
1.เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีสมรรถนะพร้อมโปรแกรมทำงานด้านออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกและอินเตอร์เน็ต
2.อุปกรณ์เครื่องเขียนของนักออกแบบและอุปกรณ์การเขียนการตัด
3.สมุดกราฟและกระดาษขาวขนาด A4
4.แฟ้มใสใส่กระดาษและเอกสารขนาดกระดาษ A4 
5.บัตรเข้าชั้นเรียนและสมุดจดบันทึกที่อาจารย์แจกให้

เริ่มทำการเรียนการสอน วันอังคารที่ 5/1/2559
ภาคปกติเริ่มเวลา 13.30-17.30 น
ภาคนอกเวลาเริ่มเวลา 17.30-10.50 น

จำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน
ภาคปกติ 37 เข้าเรียน 34 คน ขาดเรียน 3 คน
ภาคนอกเวลา 7 เข้าเรียน  คน ขาดเรียน   คน
กิจกรรมครั้งหน้า 
1.ทดสอบก่อนเรียน (Theoretical PreTest) ในระบบอีเลร์นนิ่ง http://www.thaiteachers.info/claroline 
2.ทดสอบทักษะปฏิบัติการก่อนเรียน (Practical Skill PreTest)
เริ่มทดสอบเวลา 8.30 น ตามเวลาเรียนปกติ
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...